Pages

Saturday, August 22, 2020

เสียงจาก'หลุมดำ' - มติชน

kalihderes.blogspot.com

ระยะนี้สำนักพิมพ์มติชนผลิตหนังสือใหม่ๆ ออกมาหลายเล่ม

สัปดาห์ที่แล้วได้แนะนำไปแล้วเล่มหนึ่ง

เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวของ “อู่ฮั่น” ประเทศจีน

เป็นเรื่องราวความเป็นไปของคนในต่างประเทศในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19

มาสัปดาห์นี้ขอแนะนำผลงานจากสำนักพิมพ์มติชนอีกสักเล่ม

เป็นเรื่องราวความเป็นไปในจักรวาล เป็นเรื่องของการค้นหา “หลุมดำ” จากหนังสือชื่อ Black Hole Blues แบล็กโฮลบลูส์ ของ Janna Levin แปลโดย ปิยบุตร บุรีคำ

หนังสือเล่มนี้ แค่เปิดบทที่ 1 ชื่อ “เมื่อหลุมดำชนกัน” แล้วพลิกอ่านดู จะรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้น่าติดตามอ่าน

เนื้อหาเริ่มต้นที่ความว่า…

“ที่ใดสักแห่งในเอกภาพ หลุมดำสองดวงเข้าชนกัน มวลมากยิ่งกว่าดาว ขนาดพอๆ กับเมืองเล็ก มันเป็นหลุม (กลวงเปล่า) ดำ (ไม่มีแสงใดๆ) ตามตัวอักษรจริงๆ…”

ทำให้เกิดความสนใจขึ้นมา

“หลุมดำ” หลายคนที่เคยเป็นแฟนๆ ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์คงคุ้นเคย

หลุมดำที่เป็นจุดจบของดาวฤกษ์ แต่มีพลังดูดอันมหาศาล

ว่ากันว่าเมื่อวัตถุตกอยู่ในอำนาจดึงดูดของหลุมดำ ไม่มีวัตถุใดจะสลัดหลุดพ้นมาได้

ว่ากันว่าวัตถุที่จะสลัดหลุดพ้นจากหลุมดำได้ ต้องใช้ความเร็วเหนือแสง ซึ่งจวบจนปัจจุบันยังไม่เคยเห็นวัตถุที่มีความเร็วเช่นนั้น

หลุมดำที่กำลังกล่าวถึง กลายเป็นความลึกลับของจักรวาลที่น่าศึกษา

ความลึกลับดังกล่าวทำให้มนุษย์เกิดจินตนาการต่างๆ นานา

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้กันเป็นรุ่นๆ มาอย่างต่อเนื่อง

ใครที่เคยอ่านหนังสือของ “สตีเฟน ฮอว์กิ้ง” นักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของโลก ซึ่งสำนักพิมพ์มติชนเคยนำมาตีพิมพ์

คงทราบแล้วว่า สตีเฟน ฮอว์กิ้ง ก็เป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาเรื่องนี้

เขาศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาออกมาในรูปของทฤษฎีเชิงหลุมดำที่เชื่อว่าหลุมดำแผ่รังสีออกมาตลอดเวลา

รังสีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า “รังสีฮอว์กิ้ง”

รังสีฮอว์กิ้งถ้าแผ่ออกมาเรื่อยๆ หลุมดำจะค่อยๆ เล็กลง และหมดสภาพ แล้วหายไปในอวกาศ

แค่เรื่องราวของหลุมดำเพียงหลุมเดียวก็สร้างความมหัศจรรย์จับใจ

แต่สำหรับหนังสือชื่อ “แบล็กโฮลบลูส์” นั้น ได้กล่าวถึงการชนกันของหลุมดำสองดวง

นั่นคือสิ่งที่น่าติดตาม

น่าติดตามว่าเขาใช้อะไรไปมองหา “หลุมดำ” ในห้วงอวกาศอันไกลโพ้น

ปกติเวลาแหงนหน้าขึ้นมองฟ้าในยามค่ำคืน หรือมองภาพจากยานอวกาศ จะเห็นแต่ความมืดมิดปรากฏอยู่ในห้วงอวกาศ

ยิ่งหลุมดำมีลักษณะ “กลวงเปล่า” และ “ไม่มีแสงใดๆ” ยิ่งต้องมืดมิด

แล้วเขาพบเจอ “หลุมดำ” ได้อย่างไร

ยิ่งห้วงอวกาศนั้นกว้างใหญ่ไพศาล มองไปทางไหนก็เคว้งคว้างเวิ้งว้างว่างเปล่า

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตรงไหนคือ “หลุมดำ”

ใช้อะไรมองเห็นหลุมดำ

หนังสือ “แบล็กโฮลบลูส์” ไม่เพียงแค่รู้ว่าหลุมดำอยู่ไหน ยังกล่าวถึงการเคลื่อนตัวของหลุมดำสองดวงชนกันด้วย

แล้วเขารู้ได้ด้วยวิธีใด หรือเป็นเพียงแค่สมมุติฐาน

คำเฉลยพอจะแย้มให้ได้ก่อนอ่านคือ เขาตรวจรู้ได้ด้วยเสียงจากคลื่นความโน้มถ่วง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัด เป็นอุปกรณ์มีชื่อว่า ไลโก

ไลโก หรือ LIGO หรือ The Laser Interferometer Gravitation-Wave Observatory

เครื่องไลโกเป็นอุปกรณ์ราคาแพงระยิบ ตั้งอยู่ ณ สถานีสังเกตการณ์ 2 แห่ง

แห่งหนึ่งอยู่ในแฮนฟอร์ด มลรัฐวอชิงตัน อีกแห่งหนึ่งอยู่ในลิฟวิงสตันมลรัฐลุยเซียนา

แต่อุปกรณ์นี้ทำงานอย่างไร เพราะชื่อ “เรเซอร์” นั้นเป็นแสง แต่คอยดักคลื่นความโน้มถ่วงที่เป็นเสียงจากอวกาศแล้วไปชี้จุดของหลุมดำที่อยู่ห่างไกลเป็นปีแสง

โอ้ มันซับซ้อน คงต้องไปอ่านรายละเอียดกันเอง

เอาล่ะเมื่อรู้ว่าเขาใช้อะไรค้นหา “หลุมดำ” แล้ว

การค้นหานี้มันจะสร้างประโยชน์อันใดจากการค้นพบหลุมดำ

คำตอบคือเสียงเหล่านี้จะสะท้อนเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ใหญ่ๆ ให้ได้ศึกษา

อาทิ การชนกันของดาวฤกษ์ที่ตายแล้ว การระเบิดของดาวฤกษ์อายุมาก

และบิ๊กแบง ซึ่งสันนิษฐานว่าคือจุดเริ่มต้นแห่งกาลเวลา

ความสนุกอย่างหนึ่งในการอ่านหนังสือเล่มนี้ก็คือ แล้วในที่สุด ไลโกสามารถได้ยินเสียงจากหลุมดำชนกันได้หรือไม่

หนังสือเล่มนี้ นอกจากจะเสมือนบันทึกเหตุการณ์การค้นหาคลื่นความโน้มถ่วง ที่เปรียบเหมือนกับการค้นหาเสียงบันทึกประวัติศาสตร์ของเอกภพแล้ว

ยังเป็นบรรณาการแก่ความเพียรพยายามทางการทดลองอันแสนทรมานทรกรรม และบรรณาการให้แก่ความทะเยอทะยานของคน ผู้ไม่รู้จักยอมแพ้อีกด้วย

หนังสือเล่มนี้ให้ความบันเทิงในการอ่าน

ให้ความรู้ในการคลี่คลายความลับของจักรวาล

หนังสือที่ชื่อ “แบล็กโฮลบลูส์” ที่สำนักพิมพ์มติชน ยินดีนำเสนอนี้

เป็นอีกเล่มที่น่าติดตาม

Let's block ads! (Why?)



"เอาล่ะ" - Google News
August 23, 2020 at 01:00PM
https://ift.tt/3l9aBY5

เสียงจาก'หลุมดำ' - มติชน
"เอาล่ะ" - Google News
https://ift.tt/36Ul8Qj
Home To Blog

No comments:

Post a Comment