ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ เราพูดได้ว่าไม่มีจังหวัดไหนในประเทศไทยที่ฮอตและครองพื้นที่สื่อได้มากกว่าจังหวัดระยองอีกแล้ว เมื่อมีเคสทหารอียิปต์ที่ติดเชื้อโควิด-19 เข้ามาพักและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดระยอง ทำให้วุ่นวายกันไปหมดจากระยอง ถึงกองทัพ ถึงกระทรวงสาธารณสุข จนถึงทำเนียบรัฐบาล
นอกจากความเป็นห่วงและความกังวลด้านสุขภาพของคนในพื้นที่แล้ว สิ่งที่มาคู่กันคือความกังวลว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจไทยให้ช้ำหนักมากไปอีก เพราะระยองนั้นเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญมาก ๆ ของประเทศไทย เป็นแหล่งการจ้างงานแหล่งใหญ่ เป็นจังหวัดที่ผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) สูงที่สุดในประเทศ และผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวประชากรสูงที่สุดด้วย
หลายคนอาจจะทราบอยู่แล้วว่าระยองเป็นจังหวัดที่สวยและรวยมากแค่ไหน แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ เอาล่ะ ไม่ว่าก่อนหน้านี้คุณจะรู้จักระยองมากหรือน้อยแค่ไหนก็ตาม เราอยากชวนมาทำความรู้จักระยองกันอีกครั้ง จากข้อมูล 10 ข้อต่อไปนี้ที่ “ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมมาให้คุณรู้จักจังหวัดระยองมากขึ้น
1.ข้อมูลทั่วไป ระยองเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีพื้นที่ 9,200 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ (58 ตำบล 388 หมู่บ้าน) ประกอบด้วย อำเภอเมืองระยอง, อำเภอบ้านฉาง, อำเภอแกลง, อำเภอวังจันทร์, อำเภอบ้านค่าย, อำเภอปลวกแดง, อำเภอเขาชะเมา, อำเภอนิคมพัฒนา
2.ด้านประวัติศาสตร์ จังหวัดระยองมีประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ยาวนาน 450 ปี ในเว็บไซต์จังหวัดระยองให้ข้อมูลไว้ว่า ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก
3.ระยอง มีประชากรรวม 724,979 คน เป็นประชากรที่มีสัญชาติไทย 720,351 คน และประชากรที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย 4,628 คน (ข้อมูลปี 2562 จากสำนักทะเบียนกลาง ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร์)
4.ระยองเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) สูงที่สุดในประเทศไทย คือ 1,045,697 ล้านบาท และเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัวประชากร (GPP Per Capita) สูงที่สุดในประเทศไทยด้วย คือ 1,067,449 บาทต่อปี หรือคิดเป็นเดือนละ 88,954 บาท (ข้อมูลปี 2561 จากสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลข GPP Per Capita ก็ไม่ได้สะท้อนรายได้ที่แท้จริงของประชากรในจังหวัด (เช่นกันกับ (GDP Per Capita ที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงในประเทศ) เพราะในความเป็นจริง คนที่มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยนั้นมีเพียงส่วนน้อย ส่วนประชากรส่วนมากนั้นมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่ด้วยความที่นานาชาติเขาวัดกันด้วยเกณฑ์ค่าเฉลี่ยตัวนี้ เราก็ต้องว่ากันตามนั้น
5.ระยองมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก” ซึ่งของดีทั้งหมดในคำขวัญนี่เองที่ทำให้ระยองเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย เป็นจังหวัดพื้นที่เล็ก ๆ ที่เพียบพร้อมทั้งด้านอุตสาหกรรม ด้านการท่องเที่ยวและบริการ ด้านเกษตรกรรม และด้านการค้า-พาณิชย์
6.จังหวัดระยองมีเศรษฐกิจสาขาหลัก 4 สาขาสำคัญ ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง, สาขาอุตสาหกรรม, สาขาเศรษฐกิจ พาณิชยกรรมและการคลัง, สาขาการท่องเที่ยวและการบริการ ซึ่งจะกล่าวลงรายละเอียดในข้อต่อ ๆ ไป (ข้อมูลจากสำนักงานจังหวัดระยอง)
7.สาขาการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง จังหวัดระยองมีพื้นที่ถือครองเพื่อทำการเกษตรในปี 2560/2561 รวม 1,945,075 ไร่ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 1,310,937 ไร่ มีครอบครัวที่ทำการเกษตร 44,564 ครอบครัว พืชเศรษฐกิจที่สำคัญมาก 5 อันดับแรก คือ ยางพารา มันสำปะหลัง สับปะรด ทุเรียน เงาะ
ส่วนการประมงเป็นอาชีพดั้งเดิมของประชาชนชาวระยอง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาวะภูมิอากาศที่เหมาะสม ส่งผลให้ท้องทะเลมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ มีการทำประมงเชิงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน ประมงเรือเล็กตามแนวชายฝั่งทั่วไป รวมทั้งการทำประมงน้ำจืดล้ำกร่อย เนื้อที่ทำการประมงทะเลประมาณ 1,500,000 ไร่ มีเรือประมง 1,822 ลำ สมาคมประมง 6 สมาคม กลุ่มเกษตรกรทำการประมง 36 กลุ่ม สหกรณ์ประมง 2 สหกรณ์ ท่าเรือประมง 45 ท่า ส่วนการท าประมงน้ำจืดมีเนื้อที่ทำการประมงน้ำจืด 63,080 ไร่
8.สาขาอุตสาหกรรม เป็นสาขาที่มีมูลค่าสูงที่สุด คิดเป็น 81% ใน GPP ของจังหวัด ระยองเป็นจังหวัดแห่งอุตสาหกรรมโดยแท้จริง เป็นจังหวัดมีนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดในประเทศไทย ก่อนหน้านี้มีนิคมอุตสาหกรรม 11 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก, นิคมอุตสาหกรรมผาแดง, นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง, นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้, นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอิสเทิร์นซีบอร์ด, นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล, นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย), นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง 36
ระยองเป็นหนึ่งจังหวัดที่อยู่ในโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ร่วมกับอีก 3 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ซึ่งจะมีงบประมาณลงไปพัฒนากระตุ้นเศรษฐกิจอีกมหาศาล และสืบเนื่องจากโครงการนี้ทำให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอีก 3 แห่งในจังหวัดระยองเพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 4, นิคมอุตสาหกรรม ซีพี, นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท พาร์ค ซึ่งเมื่อบวกกับของเดิมแล้วทำให้ระยองมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 14 แห่ง
นอกจากนั้น ระยองยังมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 5 แห่ง ชุมชนอุตสาหกรรม 4 แห่ง และสวนอุตสาหกรรมอีก 1 แห่ง
อุตสาหกรรมในจังหวัดระยองมีหลากหลายประเภท เช่น การผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตไฟฟ้า การผลิตสารเคมี สร้างมูลค่ารวมในแต่ละปีเกือบ 1 ใน 3 ของงบประมาณรายจ่ายประเทศไทย จำนวนเงินลงทุนรวม 1,388,469 ล้านล้านบาท มีโรงงานจำนวน 2,908 โรงงาน
9.สาขาเศรษฐกิจ พาณิชยกรรมและการคลัง จังหวัดระยองมีประชาชนเข้ามาทำงานและท่องเที่ยวในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จึงมีการประกอบธุรกิจการค้าอย่างกว้างขวาง ทั้งการค้าปลีกและการค้าส่ง ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจในระยองขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
10.สาขาการท่องเที่ยวและการบริการ ระยองเป็นจังหวัดที่รายได้จากการท่องเที่ยวมากติดท็อป 10 ของประเทศ โดยมีรายได้จากภาคท่องเที่ยวในปี 2562 จำนวน 37,693 ล้านบาท สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในระยองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล เช่น เกาะเสม็ด หมู่เกาะมัน เกาะทะลุ แหลมแม่พิมพ์ ฯลฯ และที่เริ่มจะมาแรงก็คือการท่องเที่ยวสวนผลไม้ เข้าไปดูวิถีการทำสวนและกินผลไม้อร่อย ๆ ในสวน
"เอาล่ะ" - Google News
July 14, 2020 at 07:18PM
https://ift.tt/307TrR3
10 ข้อที่จะทำให้คุณรู้จัก 'ระยอง' จังหวัดที่รวยที่สุด และฮอตที่สุดในเวลานี้ - ประชาชาติธุรกิจ
"เอาล่ะ" - Google News
https://ift.tt/36Ul8Qj
Home To Blog
No comments:
Post a Comment